แชร์

ฝรั่งไม่รู้จักโรค ออฟฟิศซินโดรม รู้จักแต่ WMSD ?

อัพเดทล่าสุด: 31 ม.ค. 2025

เชื่อว่า ทุกคนจะรู้จัก Office Syndrome (ออฟฟิศ ซินโดรม) กันอยู่แล้ว ซึ่งสินค้าที่ออกมาเพื่อแก้ไข (เพื่อขายของนี่ล่ะ) ก็ครอบคลุมมากมาย ตั้งแต่ โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน เบาะรองหลัง เบาะรองนั่ง สายรัดหลังตรง แผ่นยางรองศอก แผ่นยางรองมือ เม้าส์ทรงกระชับ ไปยัง ยาลดกรด ยาแก้ปวด น้ำยาหยอดตา เครื่องนวดคอ และคอร์สกายภาพบำบัด ฟิตเนส โอ้ว.... เพียบ

ในทางแพทย์ล่ะ? ออฟฟิศ ซินโดรม เชื่อว่าเป็นอาการของกลุ่มกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) ที่เกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำๆนานๆ ในท่านั่งทำงาน หรือ ท่านั่งผิดๆ ทำให้เกิดความเมื่อยล้าไปที่กล้ามเนื้อ พังผืด ไปถึงข้อกระดูก (ยิ่งร่างกายกล้ามเนื้อน้อย บอบช้ำ หรือ ความเสื่อมโทรมตามอายุ ก็ยิ่งส่งผลเร็ว และส่งผลเลวร้ายกว่า)

แต่ถ้าเราพูดถึงคำๆนี้ ในต่างประเทศ เช่น อเมริกา และยุโรป อาจจะไม่คุ้นเคยกับ Office Syndrome เลย? ไหงงั้น? ศัพท์การแพทย์ที่ถูกต้องคือ Work-related Musculoskeletal Disorders หรือ WMSD

 

1. Office Syndrome คุ้นเคยในไทย และเอเชียมากกว่า WMSD เพราะออกเสียงง่าย

ไม่มีใครอยากเรียกชื่อยากๆ ว่า เวิร์ก รีเลทตึด มัสคุโล.. (พอเถอะ) หรือจะเรียกว่า ดับเบิ้ลยูเอ็มเอสดี จำนวนพยางค์ก็ยังยาวว่า ออฟฟิศซินโดรม อยู่ดี

รวมทั้งในสื่อบันเทิง หรือ ความเข้าใจของคนไทยเหมารวมๆไปเรียบร้อยแล้ว การที่ท้องผูก (นั่งนานๆก็ลำไส้ขดตัวท้องผูกได้) แน่นท้อง กรดไหลย้อน ปวดหลัง เราก็เรียกรวมๆว่า ออฟฟิศซินโดรม ไปหมดเสียแล้ว และพร้อมจะเขียนในใบลางานว่า ป่วยออฟฟิศซินโดรม เข้าใจตรงกันนะเจ้านาย!

2. ฝรั่ง (ยุโรป อเมริกา) ทำไมใช้ WMSD มากกว่าล่ะ?

  • จริงๆแล้ว ต้องบอกว่า พวกเขาไม่คุ้นเคยกับ ออฟฟิศซินโดรม ต่างหากล่ะ
  • ในทางการแพทย์ เขาจะคุ้นเคยกับ WMSD มากกว่า มันเป็นคำที่บ่งบอกชัดเจนว่า เป็นอาการเกิดจากการทำงาน และเกิดขึ้นกับ กล้ามเนื้อและกระดูก
  • นอกเหนือจากการแพทย์ พวกเขาก็มีคำอื่นๆเฉพาะเหตุ ใช้งาน เช่น Back pain, Neck Pain, Repetitive Stain Injury (RSI กล้ามเนื้อยึดจากงานซ้ำๆ)
  • ส่วนอาการอื่นๆที่ ไม่ใช่ WMSD โดยตรง (เพราะไม่ได้เกี่ยวกับ กล้ามเนื้อ และกระดูก) แต่เป็นผลต่อเนื่อง ฝรั่งก็ใช้คำเฉพาะไปเลย เช่น fatique, eye fatique (ดวงตาอ่อนล้า), stress, insomnia (นอนไม่หลับ) ที่แยกย่อยสำหรับการคุย หรือ แจ้งเหตุเพื่อรักษากับหมอได้ชัดเจน (อาจจะเป็นหมอจิตเวท หมออายุรกรรม จักษุแพทย์ ตามอาการ)
  • โดยมีคำทั่วๆไป ที่เป็นอาการทางจิตที่ผูกพันกับงานมากเกินไปว่า Workaholic (โรคบ้างาน) ที่เราน่าจะคุ้นเคยกันอยู่แล้วนั่นเอง โดยที่ Workaholic ก็ไปสัมพันธ์กับอาการความเครียด และที่เกี่ยวข้องกับความเครียด บริหารเวลาผิดพลาด รวมถึงจะมีผลต่อเนื่องด้านความร้าวฉานกับความสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วย

ถึงตอนนี้ แล้วเราจะใช้ประโยชน์จากศัพท์ WMSD อย่างไร?

คนที่ต้องทำงานกับชาวต่างประเทศจะได้ใช้คำได้อย่างถูกต้อง และสำหรับท่านผู้อ่านที่อยากจะหาเนื้อหาเป็นประโยชน์ต่างๆจากต่างประเทศ ใช้ศัพท์นี้ค้นหาก็จะได้คู่มือ ตำรามากขึ้น (แต่ถ้าค้นคำว่า office syndrome ออฟฟิศซินโดรม สังเกตว่า มันจะวนๆอยู่ในเนื้อหาไม่เกินชายแดนไทย หรือ ภายในเอเชียเท่านั้น)

การป้องกันตนเองจาก Office Syndrome และ WMDS 

เราเชื่อว่า ทุกคนอ่านมาเยอะแล้ว! อย่านั่งนาน ยืดเส้นสาย ออกกำลังกาย ดื่มน้ำให้เพียงพอ

แต่เอาเข้าจริง ก็ทำไม่ได้ตามนั้น ภารกิจเอย งานเร่งเอย ฝุ่นเยอะเอย รถติดกลับบ้านดึกเสียเวลา เลี้ยงลูกเลี้ยงเต้าอีก

ดังนั้น เซเปี้ยนซ์ จะบอกว่า เราจะมีคู่มือมาให้เรื่อยๆ กรุณาติดตามอ่านได้ ทั้งสำหรับ พนักงานออฟฟิศ และสำหรับผู้สูงวัย และในขณะเดียวกัน เมื่ออายุล่วงเลย หรือ เกิดเหตุแล้วจนเจ็บปวด จะย้อนเวลากลับไปหรือจะโทษตัวเองคงไม่ได้ แต่มาแก้ไขความเจ็บปวดแบบไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องผ่านมีดหมอก็ได้ ด้วยเทคนิคการรักษาสมัยใหม่ของ รพ. เซเปี้ยนซ์ เพื่อกลับไปใช้ชีวิตที่ active แล้วก็วางแผนในการออกกำลังกาย กายบำบัดกันต่อแบบมีความสุขนะ

ข้อมูลอ้างอิง
https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC9408776/
https://www.physio-pedia.com/Work-Related_Musculoskeletal_Injuries_and_Prevention 


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy