การรักษา ด้วย สเตอรอยด์ ที่โพรงกระดูกสันหลัง

(EPIDURAL STEROID INJECTION)

แพคเกจรักษาโรงพยาบาลเซเปี้ยนซ์ รักษาอาการปวดหลัง ปวดคอ ที่มีอาการเนื่องมาจากกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังปลิ้น กระดูกสันหลังทับเส้น กระดูกคอเสื่อม

เรียบเรียงวิธีการรักษา โดย พญ นาตยา อุดมศักดิ์


พญ นาตยา อุดมศักดิ์ หมอ pain วิสัญญี ระงับปวด


การฉีดยาสเตอรอยด์เข้าไปภายในโพรงกระดูกสันหลัง คืออะไร


สําหรับผู้ที่มีอาการปวดคอร้าวลงแขน (cervical radiculopathy) หรือ ปวดหลังร้าวลงขา(lumbar radiculopathy) ซึ่งมีสาเหตุจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน จากการศึกษาพบว่าอาการปวดเหล่านี้มักดีขึ้นได้เองภายใน 4-6 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการอ่อนแรง แนะนำให้เริ่มรักษาด้วยการกินยา และ/หรือกายภาพบำบัด ในกรณีที่มีอาการปวดมากจนมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การฉีดยา สเตอรอยด์ เข้าไปในช่องโพรงกระดูกสันหลังเพื่อช่วยลดการอักเสบตรงจุดเฉพาะที่ ที่เกิดจากสารเคมีต่างๆรอบรากประสาทที่ระดับคอและหลัง ช่วยลดอาการปวดลงได้อย่างชัดเจนและรวดเร็วกว่า


กลไกลการทำงานของการฉีดสเตอรอยด์


ยาสเตอรอยด์ หรือ Corticosteroid เป็นยาที่ช่วยลดการอักเสบ ซึ่งเกิดจากสารเคมีต่างๆ (inflammatory molecules) ที่หลั่งออกมาจากหมอนรองกระดูก ไปกระตุ้นให้มีการระคายเคืองและอักเสบ บริเวาณรากประสาทที่อยู่ไกล้เคียง พบว่าเป็นกลไกลหลักที่ทำให้เกิดอาการปวด มากกว่าจากการกดทับของหมอนรองกระดูกเอง พบว่าอาการปวด อาจไม่ได้สัมพันธ์กับขนาดและตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมา หมอนรองกระดูกที่กดทับรากประสาทอาจจะทำให้มีอาการรอ่อนแรงและชา โดยที่ไม่ปวดก็ได้ สารเคมีที่หลั่งออกมาอาจจะเกิดจากภาวะอื่นอีก เช่น ช่องสันหลังตีบแคบ (spinal stenosis), กระดูกหลังเคลื่อน(spondylolisthesis), กระดูกหลังคด(scoliosis) หรือภาวะกระดูกหลังหักและยุบตัวลงมา(Compression fracture of vertebra)


นอกจากนี้สเตอรอยด์ ยังออกฤทธิ์โดยการลดการนำสัญญาณความปวดได้อีกด้วย


จากการศึกษาพบว่าอาการปวดส่วนมาก สามารถหายเองได้ โดยการกินยา กายภาพ แต่มีบางส่วนที่ไม่ได้ผล จำเป็นต้องทำการรักษาเพิ่ม โดยการฉีดยาสเตอรอยด์เข้าไปภายในโพรงกระดูกสันหลัง เพื่อลดอาการปวด ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น ลดโอกาสในการผ่าตัดคอและหลังได้ด้วย พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยหมอนรองกระดุกปลิ้น(Lumbar disc herniation) ที่ไม่มีอาการอ่อนแรง ร้อยละ 56 ถึง 60 อาการปวดดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด


ผู้ป่วยที่มีปัญหาจากช่องสันหลังตีบแคบ(Spinal stenosis) การฉีดยาสเตอรอยด์เข้าไปภายในโพรงกระดูกสันหลังพบว่าร้อยละ 59 อาการปวดลดลง อยู่ได้นาน 1 ปี และสามารถฉีดซ้ำได้อีกถ้าต้องการหลีกเลี่ยงการผ่าตัด หรือช่วยเลื่อนการผ่าตัดในกรณีที่ยังไม่พร้อม


การฉีดยาสเตอรอยด์เข้าไปภายในโพรงกระดูกสันหลังบริเวณคอ(Cervical epdural steroid injection) พบว่าลดโอกาสที่จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดได้ถึงร้อยละ 80


การฉีดยาสเตรอยด์ตั้งแต่เริ่มมีอาการ พบได้ผลดีกว่าการปล่อยให้มีอาการเรื้อรังอยู่นานหลายเดือน

เซเปี้ยนซ์ การรักษา ฉีด สเตอรอยด์ เข้าโพรงกระดูกสันหลัง



ใครบ้างที่เหมาะสมในการรักษาการฉีดสเตอรอยด์


  • ปวดคอร้าวลงแขน(Cervical radiculopathy)
  • ปวดหลังร้าวลงขา(Lumbar radiiculopathy)
  • ช่องสันหลังตีบแคบ กดทับรากปรระสาท(spinal stenosis)
  • กระดูกหลังเคลื่อน กดทับรากประสาท(spondylolisthesiis)
  • อาการปวดลงขา หลังจากที่มีการผ่าตัดหลังไปแล้ว(postlaminectomy pain syndrome)
  • ปวดรากประสาทที่มาจากสาเหุตอื่นๆ เช่น กระดูกหลังคด(scoliosiis) หรือภาวะกระดูกหลังหักและยุบตัวลงมา(Compression fracture of vertebra) , ซีสต์ที่ข้อกระดูกหลัง(Facet cyst) , รากประสาทอักเสบ(radiculitis)
  • ปวดรากประสาท จากงูสวัสดิ์(post-herpetic neuralgia)


ใครบ้างที่ไม่เหมาะสมในการรักษาการฉีดสเตอรอยด์


  • มีการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือติอเชื้อในบริเวณที่ฉีดยา(Systemic infection or local infection at site of injection)
  • มีเลือดออกผิดปกติ หรือ ไม่สามารรถหยุดยาละลายลิ่มเลือดได้
  • แพ้ยาชา หรือ ยาสเตอรอยด์
  • ตั้งครรภ์ (สามารถทำโดยใช้เครืองอัลตราซาวด์ช่วยแทนได้)
  • มีอาการรอ่อนแรงที่แขน หรือ ขา
  • มีปัญหาในการปัสสาวะ หรือ อุจารระ ทำงานผิดปกติ จากการกดทับรากประสาทส่วน Cauda equina
  • มีการรกดทับไขสันหลังที่คอจากหมอนรองกระดูก หรือกระดุกคอเสื่อม(Cervical myelopathy)


การเตรียมตัวก่อนการฉีดยาสเตอรอยด์


การฉีดยาสเตอรอยด์เข้าไปภายในโพรงกระดูกสันหลังบริเวณคอและหลัง สามารถทำได้โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์ช่วย และฉีดสารทึบแสง(contrast media) ด้วยเพื่อความแม่นยำ ใช้เวลาทำหัตถการโดยเฉลี่ยประมาณ 15-20 นาที


ผู้ป่วยที่ความวิตกกังวล สามารถร้องขอการให้ยาคลายกังวลในระหว่างการฉีดยาได้ โดยจำเป้นต้องงดน้ำงดอาหาร ก่อนการทำหัตถการ


ผู้ป่วยควรหยุดยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ตามระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละชนิดของยา ควรแจ้งก่อนนัดหมายทำหัตถการ สำหรับผู้ป่วยที่มีปํญหาแพ้สารทึบแสง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนล่วงหน้าด้วย


เมื่อไหร่ถึงจะดีขึ้นหลังการฉีดสเตอรอยด์


อาการปวดมักจะดีขึ้นภายใน 3-5 วัน และดีขึ้นชัดเจนใน 7 วัน ส่วนอาการปวดที่คอหรือหลัง อาจจะหายไม่หมด หรือดีขึ้นไม่นาน เมื่อเทียบกับอาการปวดที่แขน หรือขา อาการชาอาจจะยังคงมีอยู่ ส่วนอาการอ่อนแรงที่เป็นผลมาจากความปวดจะดีขึ้น ในกรณีที่อาการปวดยังลดลงไม่มาก แต่ยังไม่อยากผ่าตัด สามารถฉีดยาสเตอรอยด์เข้าไปภายในโพรงกระดูกสันหลังซ้ำได้อีก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยมีระยะห่างกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์


ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดสเตอรอยด์


  • โดยทั่วไปถือเป็นหัตถการที่ปลอดภัยสูง ความเสี่ยงน้อย โอกาสผลข้างเคียงที่รุนแรงมีน้อยมากๆ ผลข้างเคียงที่พบได้คือ
  • น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในผู้ป่วยเบาหวานในช่วง 4 วันแรกหลังฉีดยาสเตอรอยด์ แนะนำให้ตรวจน้ำตาลในเลือดและคุมน้ำตาลอย่างใกล้ชิด
  • กดการทำงานของภูมิคุ้มกัน ไม่แนะนำให้ฉีดยาสเตอรอยด์เข้าไปภายในโพรงกระดูกสันหลัง ในช่วงที่ยังมีการรติดเชื้ออยู่
  • กดการทำงานของต่อมหมวกไต ในช่วง 2-4 สัปดาห์ โดยทั่วไปจะไม่มีอาการ และไม่จำเป้นต้องรักษา
  • กระดุกพรุน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ฉีดยาสเตอรอยด์บ่อยเกิน 4 ครั้งต่อปี หรือในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว
  • เพิ่มความดันในลูกตา ในผู้ป่วยที่มีความดันในลูกตาสูง(Glucoma)
  • หน้าแดง ผื่นขึ้น นอนไม่หลับ ปวดบริเวณที่ฉีดยา สะอึก ประจำเดือนมาผิดปกติ อารมณ์แปรปรวน อาจเกิดได้ในผู้ป่วยบางคน
  • ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่มีโอกาสเกิดน้อยมากๆ เช่น ติดเชื้อที่หมอนรองกระดูก (discitiis) หรือ โพรงกระดูกสันหลัง(epidural abscess) , เลือดออกในโพรงกระดูกสันหลัง (Epidural hematoma) , รากประสาทหรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บจากการทำหัตถการ (spinal nerve root or spinal cord injury)


ผลของการฉีดยาอยู่ได้นานแค่ไหน


ช่วยลดอาการรปวดแขนและขา ได้นานตั้งแต่หลายสัปดาห์ จนถึง 2-3 เดือน ในบางรายอาจจะอยู่ได้นานกว่านี้หรือไม่กลับมามีอาการอีกเลยถ้าออกกำลังกายได้ถูกวิธีและสม่ำเสมอ ขึ้นกับการดูแลตัวเอง



เรื่องราวจริง รักษาด้วย สเตอรอยด์ จาก คุณหมอ นาตยา รพ. เซเปี้ยนซ์ แล้วได้ชีวิตปกติอีกครั้ง

ข้อมูล คุณฐิติพงศ์ ที่สัมภาษณ์กับรายการทางวิทยุ (ซ้าย) และคลิปวีดีโอคุณฐิติพงศ์ ก่อน-หลังการรักษา (ขวา)

คุณฐิติพงศ์ คนไข้เคยประสบอุบัติมาก่อน และผสมกับอาการกระดูกสันหลังเสื่อมตามอายุ ทำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงเอว และขา รักษากับ พญ.นาตยา อุดมศักดิ์ โดยการฉีดสเตอรอยด์ระงับปวดและทำกายภาพ พูดถึงการรักษาผ่าน Top Radio 93.5 MHz


"ผมกลับมาเดินได้อีกครั้ง ไม่ปวดอีกแล้ว แต่ต้องกายภาพฝึกการเดินใหม่ เพราะตลอดเวลาที่ปวดร้าวลงขาเดินไม่ได้ หรือเดินแล้วเอนไปมาแบบนกเพนกวิน เป็นการเดินที่ทิ้งน้ำหนักผิดจนเคยชิน"



"โรงพยาบาลมีการดูแลเอาใจใส่ที่ดีมาก ห้องพักสวยสะดวกสบาย"

@dr.nattaya.udomsakdi

รักษาหมอนรองกระดูกปลิ้น คุณฐิติพงศ์ รักษากับหมอนาตยา นาตยา คุณหมอนาตยา หมอนาตยา อ.นาตยา หมอนาตยาอุดมศักดิ์ รพ.เซเปี้ยนซ์ เซเปี้ยนซ์ SapiensPainHospital Sapiens Pain Hospital MRI ไม่ต้องผ่าตัด วิทยุ รักษาด้วยคลื่นวิทยุ ปวดเรื้อรัง ปวดเฉียบพลัน หมอpain รักษาอาการปวด กระดูกสันหลัง สะโพก ปวดเข่า แผลผ่าตัด ปวดมะเร็ง ร.พรักษาอาการปวด ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดคอบ่าไหล่ ปวดข้อปวดเข่า ปวดคอบ่าไหล่ ปวดเอว ปวด ปวดข้อ ปวดหัว หมอนรองกระดูกปลิ้น

♬ เสียงต้นฉบับ - หมอนาตยา รักษาทุกความเจ็บปวด - หมอนาตยา รักษาทุกความเจ็บปวด

Jean Sebastien ชาวฝรั่งเศส


เคยประสบอุบัติเหตุ รักษาอาการกระดูกต้นคอเสื่อม กระดูกสันหลังร้าว เจ็บปวดในการขยับร่างกาย การเดิน การนอน หมุนตัวไม่ได้ ก้มตัวไม่ได้ หันหน้าไม่ได้

โดย คุณหมอนาตยาสืบสาเหตุจนพบเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ ปัจจุบัน สามารถเดินเหินได้ปกติ และกลับมาทำกิจกรรมต่างๆได้อีกครั้ง


"I have my life back"



อ่านเรื่องราวการรักษาของ คุณหมอนาตยา ให้กับคนไข้หลายๆราย คลิก!

Jean Sebastien คนไข้รักษา สเตอรอยด์ กับ พญ นาตยา อุดมศักดิ์

สามารถฉีดยาสเตอรอด์ ได้บ่อยแค่ไหน


ยังไม่มีข้อสรุปว่า ควรทำได้บ่อยแค่ไหน แนะนำว่าไม่ควรรเกิน 2-4 ครั้งต่อปี ตามความจำเป็น โดยพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสีย ก่อนการทำหัตถการในแต่ละครั้ง


ควรดูแลตัวเองอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการอีก


  • การหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา เช่น การออกกำลังกายอย่างหนักหรือไม่ถูกวิธี การยกของหนัก หยุดสุบบุหรี่
  • ลดน้ำหนัก ออกกำลังเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อแกนกลางแข็งแรง(core strengthening exercise) เช่น ว่ายน้ำ , Pilates, McKenzie exercise, Yoga, Tai chi , รำไม้พลอง
  • หลังฉีดยาและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนาน 2 สัปดาห์แล้ว อาการปวดยังไม่ดีขึ้นควรทำอย่างไร
  • ในกรณีที่อาการปวดไม่ดีขึ้น หรือลดปวดได้ระยะสั้นๆ หรือมีอาการอ่อนแรงชัดเจน แนะนำให้พบแพทย์ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ด้านกระดูกสันหลัง เพื่อรักษาสาเหตุที่เกิดจากการกดทับ ด้วยการผ่าตัดต่อไป ควรเว้นระยะผ่าตัด หลังจากการฉีดยาสเตอรอยด์เข้าไปภายในโพรงกระดูกสันหลังอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อลดอุบัติการณ์ติดเชื้อหลังผ่าตัด


เอกสารและงานวิจัยอ้างอิง


  • Luis RV, Emiliano NV, Juan ES Henao 3, Gustavo G. UPDATE ARTICLE
  • LUMBAR DISC HERNIATION. Revista Brasileira de Ortopedia (English Edition) ,Volume 45, Issue 1, January 2010, Pages 17-22
  • Min Soo Lee ,Ho Sik Moon. Safety of epidural steroids: A review. Anesth Pain Med 2021;16:16-27
  • Neil A. Manson, Melissa D. McKeon and Edward P. Abraham. Transforaminal epidural steroid injections prevent the need for surgery in patients with sciatica secondary to lumbar disc herniation: a retrospective case series. CAN J SURG April 01, 2013 56 (2) 89-96;
  • Chang Liu, Giovanni EF, Christina AS, et al.. Surgical versus non-surgical treatment for sciatica: systematic review and meta-analysis of randomised controlled trials. BMJ Clinical Research 381:e070730 (Published 19 April 2023)
  • Martin John Wilby, et al.. Microdiscectomy versus transforaminal epidural steroid injection in patients with sciatica secondary to herniated lumbar disc (NERVES): a phase 3, multicentre, open-label, randomised controlled trial and economic evaluation. Lancet Rheumatol 2021; 3: e34756
  • Steven P. Cohen, Emileigh Greuber, Kip Vought and Dmitri Lissin. Safety of Epidural Steroid Injections for Lumbosacral Radicular Pain. Clin J Pain. 2021 Sep; 37(9): 707717.
  • Gregory S Kazarian, Michael E Steinhaus, Han Jo Kim. The Impact of Corticosteroid Injection Timing on Infection Rates Following Spine Surgery: A Systematic Review and Meta-Analysis. Global Spine Journal. 2022 Sep; 12(7):1524-1534.
  • Josh L, Nolan G, John C, et al. Results of cervical epidural steroid injections based on the physician referral source. Interventional Pain Medicine.Volume 1, Issue 1, March 2022
  • John P. K, Jayme C.B. Koltsov, Matthew WS, et al. Cervical epidural steroid injections: incidence and determinants of subsequent surgery. The Spine Journal Volume 20, Issue 11, November 2020, Pages 1729-1736
  • Van Boxem K, Rijsdijk M, Hans G, de Jong J, Kallewaard JW, Vissers K, van Kleef M, Rathmell JP, Van Zundert J. Review article : Safe Use of Epidural Corticosteroid Injections: Recommendations of the WIP Benelux Work Group. Pain Pract. 2019 Jan;19(1):61-92.
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy