1. โรคทางนรีเวชและระบบสืบพันธุ์
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
- ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญอยู่นอกมดลูก ทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือนรุนแรง ปวด ท้องน้อยเรื้อรัง และอาจมีภาวะมีบุตรยากร่วม ด้วย
- พังผืดในอุ้งเชิงกราน (Pelvic Adhesions) อาจเกิดจากการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือเคยผ่านการผ่าตัดมาก่อน ส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรังจากเนื้อเยื่อที่ยึดติดกัน
- เนื้องอกมดลูก (Fibroids) : เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่พบได้บ่อย อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย ประจำเดือนมามาก และความรู้สึกแน่นท้อง
- โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง (Chronic Pelvic Inflammatory Disease - PID) การติดเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างสมบูรณ์ อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังและพังผืด
- ภาวะปวดอุ้งเชิงกรานจากหลอดเลือดขอด (Pelvic Congestion Syndrome - PCS) หลอดเลือดดำบริเวณอุ้งเชิงกรานขยายตัวผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง
2. โรคในระบบอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง
- ภาวะต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง (Chronic Prostatitis/Chronic Pelvic Pain Syndrome - CP/CPPS) พบในผู้ชาย อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดขณะปัสสาวะ หรือปวดร้าวไปที่อวัยวะเพศและขาหนีบ
- โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง นิ่วในไต หรือโรคกรวยไตอักเสบ
- โรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (IBS) หรือโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD)
- ปัญหาทางระบบประสาท (Nerve Entrapment Syndromes) เช่น Ilioinguinal, Iliohypogastric,
- Genitofemoral Neuropathy เส้นประสาท เหล่านี้อาจถูกกดทับจากการผ่าตัดบริเวณหน้า ท้อง การตั้งครรภ์ หรือการอักเสบ ทำให้เกิด อาการปวดบริเวณท้องน้อยและขาหนีบ Pudendal Nerve Entrapment (PNE) ภาวะที่เส้นประสาท Pudendal ถูกกดทับ ส่ง ผลให้เกิดอาการปวดในอุ้งเชิงกราน ปวดร้าวไป
- ยังอวัยวะเพศ และอาจมีปัญหาด้านการขับถ่าย
- หรือทางเพศสัมพันธ์
การวินิจฉัย
- แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจแนะนำการตรวจเพิ่มเติม เช่น:
- การตรวจภายในหรือการตรวจต่อมลูกหมาก เพื่อตรวจหาความผิดปกติของมดลูก รังไข่ หรือ ต่อมลูกหมาก
- อัลตราซาวนด์ช่องท้องและทางช่องคลอด (Pelvic Ultrasound) เพื่อตรวจหาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอก หรือถุงน้ำรังไข่
- การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopy) หรือการส่องกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopy) เพื่อตรวจหาพยาธิสภาพที่ไม่สามารถเห็นได้จากอัลตราซาวนด์
- MRI หรือ CT Scan ในกรณีที่มีอาการซับซ้อนและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
- Nerve Block Test เพื่อตรวจว่าปวดเกิดจากเส้นประสาทที่ถูกกดทับหรือไม่
แนวทางการรักษาอาการปวดท้องน้องเรื้อรัง
1. การใช้ยา
- ยาแก้ปวด เช่น NSAIDs (Ibuprofen, Naproxen) หรือ Acetaminophen
- ยาฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน หรือ GnRH agonists สำหรับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- ยาต้านอาการปวดจากระบบประสาท (Neuropathic Pain Medications) เช่น Pregabalin, Mirogabalin
- ยาต้านเศร้า (Antidepressants) เช่น Tricyclic Antidepressants (TCAs), Duloxetine เพื่อช่วยลดอาการปวดจากระบบประสาท
2. การรักษาโดยไม่ใช้ยา
- การทำกายภาพบำบัดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- การฝังเข็มและโยคะเพื่อลดความเครียดและบรรเทาอาการปวด
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร และการจัดการความเครียด
3. การรักษาด้วยหัตถการระงับปวด (Pain Intervention)
- Trigger Point Injection ฉีดยาชาเพื่อลดอาการปวดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- Nerve Block Injection ฉีดยาชาเข้าเส้นประสาทที่เกี่ยวข้อง เช่น Ilioinguinal, Iliohypogastric, Genitofemoral, และ Pudendal Nerve Block
- Radiofrequency Ablation (RFA) ใช้คลื่นวิทยุทำลายเส้นประสาทที่นำความรู้สึกปวดเรื้อรัง
การรักษาที่ดีที่สุดคือการรักษาที่สาเหตุ
อาการปวดท้องน้อยเรื้อรังเป็นภาวะที่ซับซ้อนและต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำเพื่อให้สามารถรักษาที่ต้นเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีอาการที่รบกวนชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการดูแลที่เหมาะสม ซึ่ง รพ. เซเปี้ยนซ์ มีทั้งเทคนิคการตรวจสอบหาสาเหตุของอาการ ส่องกล้องตรวจ และการรักษาด้วยเทคนิคที่หลากหลายและความเสี่ยงต่ำ