ทางเลือกวิธีการรักษาทั้งหมด รวบรวมและเรียบเรียงโดย พญ. นาตยา อุดมศักดิ์ มีดังนี้
. การฉีดยาเพื่อบรรเทาอาการปวดและฟื้นฟูข้อต่อ
หลักการทำงาน : คอร์ติโคสเตอรอยด์เป็นยาต้านการอักเสบที่ช่วยลดอาการบวมและปวดในข้อต่อ
ข้อดี : ได้ผลเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดรุนแรง ข้อเข่ามีการอักเสบเฉียบพลัน
ข้อเสีย : ไม่เหมาะสำหรับการใช้ในระยะยาว เนื่องจากอาจทำให้กระดูกอ่อนเสื่อมเร็วขึ้น
ระยะเวลาผลลัพธ์ : อาการปวดลดลงได้นาน 2-3 เดือน
หลักการทำงาน : สารไฮยาลูรอนิคเป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำหล่อเลี้ยงข้อ การฉีดสารนี้ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและลดแรงเสียดทานในข้อต่อ
ข้อดี : เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดไม่รุนแรง
ข้อเสีย : อาจต้องฉีดหลายครั้งและมีค่าใช้จ่ายสูง
ระยะเวลาผลลัพธ์ : อาการปวดลดลงได้นาน 6-12 เดือน
หลักการทำงาน : PRP ได้มาจากการแยกเลือดของผู้ป่วยเองเพื่อให้ได้เกล็ดเลือดเข้มข้น ซึ่งมีสารเร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
ข้อดี : ช่วยลดการอักเสบและกระตุ้นการซ่อมแซมกระดูกอ่อน
ข้อเสีย : ค่าใช้จ่ายสูง และผลลัพธ์อาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
ระยะเวลาผลลัพธ์ : อาการปวดลดลงได้นาน 6-12 เดือน
ใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกหรือไขมันของผู้ป่วยเองเพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมข้อเสื่อม
เหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อเสื่อมในระยะเริ่มต้นถึงปานกลาง และต้องการหลีกเลี่ยงการผ่าตัด
ข้อดี : สามารถกระตุ้นการฟื้นฟูของกระดูกอ่อนและลดอาการปวดในระยะยาว
ข้อเสีย : ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าผลลัพธ์มีประสิทธิภาพในระยะยาวเทียบเท่าการผ่าตัด
ข้อจำกัด : ค่าใช้จ่ายสูง ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของ สเต็มเซลล์ (ไขกระดูกหรือไขมัน) ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
หลักการทำงาน : แพทย์จะนำข้อเข่าเดิมที่เสื่อมสภาพออกและแทนที่ด้วยข้อเข่าเทียม
ข้อดี : ช่วยลดอาการปวดและฟื้นฟูการเคลื่อนไหวได้ดี
ข้อเสีย : ต้องพักฟื้นนานและมีภาวะแทรกซ้อน ได้ เช่น การติดเชื้อ
ระยะเวลาผลลัพธ์ : ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานประมาณ 15-20 ปี
หลักการทำงาน : แทนที่ข้อสะโพกเดิมด้วยข้อสะโพกเทียม
ข้อดี : ช่วยลดอาการปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิต
ข้อเสีย : มีความเสี่ยงในการเคลื่อนของข้อเทียม
ระยะเวลาผลลัพธ์: ข้อสะโพกเทียมมีอายุการใช้งานประมาณ 20-25 ปี
หลักการทำงาน : RFA เป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่มีการรุกล้ำน้อย (Minimally Invasive) สามารถทำได้แบบผู้ป่วยนอก โดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงทำลายเส้นประสาท ที่เป็นต้นเหตุของอาการปวด วิธีนี้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อเข่าเรื้อรังรุนแรง เพราะมีระยะเวลาพักฟื้นสั้น ไม่มีแผลผ่าตัด ใช้เพียงยาระงับความรู้สึกแบบอ่อน และสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ในวันถัดไป
ข้อดี : บรรเทาอาการปวดได้นาน 6-12 เดือน โดยไม่ต้องผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ หรือไม่ต้องการการผ่าตัดที่ซับซ้อน
ทางเลือกสำหรับผู้ที่อายุน้อยและกังวลว่าข้อเทียมอาจเสื่อมสภาพในอนาคต เหมาะสำหรับผู้ที่เคยผ่าตัดข้อเข่าแต่ยังคงมีอาการปวดต่อเนื่อง
ข้อเสีย : อาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงบริเวณที่รักษา ซึ่งมักเป็นเพียงชั่วคราว
ระยะเวลาผลลัพธ์: ปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเป็นระยะเวลา 6-12 เดือน
ปัจจุบัน RFA ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้รักษาอาการปวดในข้อต่ออื่น ๆ เช่น ข้อสะโพกและข้อไหล่ ทำให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความปวดเรื้อรังโดยไม่ต้องพึ่งการผ่าตัด
การรักษาอาการปวดข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อมมีหลายทางเลือกขึ้นอยู่กับระยะของโรคและความต้องการของผู้ป่วย ตั้งแต่การฉีดยาเพื่อบรรเทาอาการ การใช้เทคนิคการระงับปวดแบบ Intervention ไปจนถึงการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ในปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและลดระยะเวลาการฟื้นตัว ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินโดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุด