แชร์

ปวดคอเรื้อรัง มีอาการเป็นยังไง บอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพบ้าง

อัพเดทล่าสุด: 8 เม.ย. 2025

     ปวดคอ อาการปวดบริเวณท้ายทอยด้านหลังลำคอเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเคยพบเจอจนรู้สึกว่านี่คือเรื่องปกติ จนบ่อยครั้งกลายเป็นความชะล่าใจ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องนั่งทำงานท่าเดิมติดต่อกันนาน ๆ แต่ในความเป็นจริงอาการดังกล่าวอาจมีสาเหตุและความรุนแรงมากกว่าที่คาดคิด ถึงขั้นสร้างอันตรายต่อชีวิตหากละเลยและไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องโดยเฉพาะผู้ที่ปวดคอเรื้อรัง

ลักษณะอาการปวดคอเรื้อรังที่มักเกิดขึ้น

อาการปวดคอเรื้อรัง คือ อาการเจ็บปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ ท้ายทอย ติดต่อกันนานมากกว่า 1 สัปดาห์ หรือมักเป็นๆ หายๆ สามารถแยกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1. อาการปวดคอทั่วไป

มักปวดตั้งแต่ช่วงท้ายทอย บ่า ลงมาถึงสะบัก ไม่ค่อยอันตรายมากนัก ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากภาวะ Office Syndrome

2. อาการปวดคอจากการถูกกดทับเส้นประสาท

จะรู้สึกปวดบริเวณคอ บ่า สะบักร้าวลงไปถึงแขนร่วมกับอาการชา บางคนกระดกข้อมือหรือขยับนิ้วไม่ได้ ไหล่ยกไม่ขึ้น

3. อาการปวดคอจากการกดทับของไขสันหลัง

ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการชัดเจน ผู้ป่วยมักรู้สึกปวดคอ บ่า สะบักเรื้อรังร่วมกับการปวดร้าวลงแขน-ขา และอาการชา หากปล่อยไว้นานกล้ามเนื้อตรงมือมักลีบเล็กลง รู้สึกแขน-ขาไม่ค่อยมีแรง หยิบจับของชิ้นเล็ก ๆ หรือทำงานที่ต้องใช้กำลังมือไม่ถนัด สูญเสียการทรงตัว เดินเซ คุมการขับถ่ายไม่ได้

สาเหตุของการปวดคอเรื้อรังเกิดจากอะไร

มีหลายสาเหตุที่มักทำให้เกิดอาการปวดคอเรื้อรัง การทำความเข้าใจจะช่วยให้ทุกคนหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงได้

  • อายุมากขึ้น หรือทำงานที่ต้องใช้กระดูกและกล้ามเนื้อคอเยอะ ส่งผลให้กระดูกต้นคอเสื่อม
  • ป่วยโรครูมาตอยด์ เกาต์ หรือติดเชื้อบริเวณกระดูกสันหลัง ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อต่อคออักเสบ
  • ได้รับบาดเจ็บบริเวณลำคอหรือท้ายทอย เช่น หมอนรองกระดูกคอแตกหรือเกิดการเคลื่อนกดทับเส้นประสาทจากอุบัติเหตุ
  • การนั่งท่าทางเดิมนาน ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถ หรือการใช้ท่าทางของลำคอแบบผิดลักษณะ เช่น การก้ม ๆ เงย ๆ บ่อยครั้ง การนอนตกหมอน เป็นต้น

วิธีบรรเทาอาการปวดคอเบื้องต้น

หากคุณมีอาการปวดทั่วไป ไม่ถึงกับรุนแรงมากนัก สามารถบรรเทาอาการปวดคอเบื้องต้นได้ ดังนี้

  • ทานยาลดอาการปวดร่วมกับการทานวดยาคลายกล้ามเนื้อ กรณีไม่ได้ปวดรุนแรงมากนัก
  • ทำภายภาพบำบัด ยืดกล้ามเนื้อ เกร็งกล้ามเนื้อ ร่วมกับการประคบร้อน
  • พบแพทย์เพื่อตรวจรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งแพทย์อาจให้สวมเฝือกคออ่อน ร่วมกับการทานยา และเน้นย้ำว่าอย่าขยับคอมากเกินไป

อาการปวดคอเรื้อรังที่ควรรีบพบแพทย์ทันที

แม้อาการปวดคอจะเป็นสิ่งที่พบเจอได้บ่อย แต่ถ้าคุณรู้สึกปวดแบบผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการปวดบริเวณคอ บ่า สะบัก ไหล่ ท้ายทอย ทั้งปวดแบบส่วนใดส่วนหนึ่งหรือปวดทั้งหมดเรื้อรังติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ แม้พยายามบรรเทาอาการเบื้องต้นแล้ว รวมถึงมีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น ปวดร้าวลงแขน-ขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาปลายนิ้วมือ หยิบจับสิ่งของไม่ถนัด ขยับคอได้น้อย บางรายมีไข้ กดเจ็บ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีความรุนแรงมากกว่าแค่การปวดคอทั่วไป

วิธีรักษาอาการปวดคอเรื้อรังโดยแพทย์

แพทย์จะประเมินวิธีรักษาอย่างความเหมาะสมตามลักษณะอาการหรือความรุนแรงของผู้ป่วย เพื่อให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด

  • การให้ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวดกลับไปทาน ร่วมกับการใช้ยานวดคลายเส้น ลดอาการปวด
  • การฉีดยาสเตียรอยด์บริเวณกล้ามเนื้อคอเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดของผู้ป่วย
  • การทำกายภาพบำบัดโดยนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญ
  • การใช้เครื่อง Ultrasound หรือ Shortwave Diathermy เพื่อสร้างความร้อนลึกสู่ใต้ชั้นผิว
  • ใช้เครื่องเอกซเรย์ เครื่อง CT Scan หรือ MRI เพื่อวิเคราะห์อาการ ตรวจดูสาเหตุอย่างละเอียด และอาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อรักษารากประสาทหรือไขสันหลังถูกกดทับ

วิธีป้องกันอาการปวดคอเรื้อรัง

หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้ปวดคอทั้งระยะสั้นและเรื้อรัง เช่น การนั่งทำงานท่าเดิมนาน ๆ การนอนหมอนสูงเกินไป นอนหมอนขนาดเล็กไม่พอดีศีรษะ ลดกิจกรรมที่ต้องใช้คอเยอะ การก้มเงยบ่อย ๆ ร่วมกับการบริหารกล้ามเนื้อลำคออย่างสม่ำเสมอ เช่น การยืดกล้ามเนื้อคอ การนวดคอ เป็นต้น

สรุป

แม้อาการปวดคอสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกปวดคอเรื้อรัง ไม่หายขาดแม้พยายามรักษาเบื้องต้นแล้วก็ตาม แนะนำให้รีบพบแพทย์ หรือโรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีเครื่องมือทันสมัย วิสัญญีแพทย์ชำนาญการ ใช้แพทย์จริงที่มีความเชี่ยวชาญด้านกระดูก แพทย์ด้านออโธปิติกส์เป็นผู้รักษาหลักมเพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุอย่างถูกต้อง เสริมระบบ AI เป็นตัวช่วย และเข้ารับการรักษาด้วยความเหมาะสม ลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะรุนแรงตามมาในอนาคต


บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้หญิงกำลังนั่งทำงานอยู่และมีอาการปวดคอ
พฤติกรรมการนั่งที่ไม่ถูกต้องอาจเป็นต้นเหตุของออฟฟิศซินโดรม มาปรับพฤติกรรมง่าย ๆ ด้วย 5 วิธี ที่ช่วยป้องกันอาการปวดหลังและลดความเสี่ยงจากออฟฟิศซินโดรม เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว
17 เม.ย. 2025
ผู้ชายสูงวัยปวดหัวไหล่ด้านซ้าย
อาการปวดไหล่ที่ร้าวลงไหล่อาจเกิดจากการกดทับของเส้นประสาทจากกระดูกสันหลัง การรักษาที่เหมาะสมจะช่วยบรรเทาอาการปวดและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อเนื่อง
17 เม.ย. 2025
ชายสูงอายุมีอาการปวดคอบ่าไหล่
อาการยืดแขนไม่ได้ ร้าวลงบ่า และปวดคอบ่าไหล่มีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกัน การรักษาของแต่ละอาการก็ไม่เหมือนกัน การเข้าใจอาการที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้
17 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy