" รักษาอาการปวดใบหน้าเรื้อรัง กับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลเซเปี้ยนซ์ "

แนวทางการรักษา

การรักษาอาการปวดใบหน้าเรื้อรังขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริง ดังนี้:


1. อาการปวดจากฟันและไซนัส: หากมีอาการปวดที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือการกัดฟัน ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อตรวจประเมิน หากสงสัยว่าเป็นไซนัสอักเสบ การรักษาอาจรวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาพ่นจมูกเพื่อลดอาการบวม


2. โรคเส้นประสาทไตรเจมินอล (Trigeminal neuralgia) : ปวดรุนแรงที่เกิดขึ้นบริเวณกรามหรือแก้ม มักกระตุ้นได้จากการสัมผัสใบหน้า การรักษาเบื้องต้นใช้ยาเช่น Carbamazepine , Gabapentin , pregabalin ,Tramadol , Lioresal หากยาไม่ได้ผล อาจพิจารณาการผ่าตัด Microvascular decompression(MVD) เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาท หรือทำ Radiofrequency ablation (RFA)


3. โรคข้อต่อขากรรไกร (TMD): อาการปวดขณะเคี้ยวหรือพูด การรักษาเบื้องต้นแนะนำให้พักขากรรไกร ใช้ยาแก้ปวด หรือกายภาพบำบัด หากไม่ดีขึ้น อาจพิจารณาการฉีดยาหรือทำศัลยกรรม


4. โรคหลอดเลือดอักเสบที่ศีรษะ: พบในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดหัวเรื้อรัง การวินิจฉัยใช้การตรวจชิ้นเนื้อหลอดเลือดและการตรวจเลือด หากสงสัย ควรเริ่มให้ยาสเตียรอยด์ทันทีเพื่อลดโอกาสสูญเสียการมองเห็น


5. การทำ Pain Intervention ในการรักษาอาการปวดใบหน้า

เป็นทางเลือกสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังหรือดื้อยารักษา โดยสามารถใช้เทคนิคต่างๆ เช่น

การฉีดยาชาเฉพาะที่ (Local anesthetic injection) เพื่อบรรเทาอาการปวดบริเวณเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ

การบล็อกเส้นประสาท (Nerve block) เช่น Trigeminal nerve block หรือ Occipital nerve block

Radiofrequency ablation (RFA) ใช้คลื่นความถี่สูงเพื่อทำลายเส้นประสาทที่เป็นต้นเหตุของความปวด

การใช้ Botulinum toxin (โบท็อกซ์) เพื่อลดอาการปวดจากโรคข้อต่อขากรรไกร

การฝังอิเล็กโทรดกระตุ้นเส้นประสาท (Neuromodulation) เช่น Spinal cord stimulation หรือ Peripheral nerve stimulation


บทสรุป


อาการปวดใบหน้าเป็นอาการที่พบได้บ่อยและมีสาเหตุหลากหลาย แม้ว่าในกรณีส่วนใหญ่จะเกิดจากโรคฟันและไซนัส แต่บางครั้งอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง การซักประวัติและตรวจร่างกายที่ละเอียดช่วยให้สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างเหมาะสม หากอาการปวดยังคงอยู่หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทหรือแพทย์เฉพาะทางด้านความปวด

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดเหมือนไฟซ็อต! คนที่เคยเป็นงูสวัดเท่านั้นจะเข้าใจ งูสวัด (Herpes Zoster) เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella-Zoster Virus (VZV) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ทำให้เกิดอีสุกอีใส หลังจากหายจากอีสุกอีใส เชื้อไวรัสนี้สามารถแฝงตัวอยู่ในปมประสาท (Dorsal Root Ganglion - DRG) และถูกกระตุ้นให้กลับมาแสดงอาการอีกครั้งเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ
27 มี.ค. 2025
"พังผืดในโพรงประสาท" ศัตรูเงียบที่ทำให้คุณปวดเรื้อรัง การรักษาอาการปวดเรื้อรังจากพังผืดในโพรงประสาท เป็นหัตถการที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังจากพังผืดในโพรงประสาท (epidural space) โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะ Failed Back Surgery Syndrome (FBSS) หรือภาวะปวดหลังเรื้อรังหลังการผ่าตัด ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบดั้งเดิม เช่น การใช้ยาและกายภาพบำบัด
27 มี.ค. 2025
สเตียรอยด์มีหลายรูปแบบ ทั้งกิน ทา และฉีด โดยแต่ละแบบมีผลข้างเคียงต่างกัน สำหรับเซเปี้ยนซ์ การฉีดสเตียรอยด์ใช้เฉพาะในกรณีรักษา เช่น การอักเสบในไขข้อ หรือจุดอักเสบเล็ก ๆ ที่ไม่กระจายตัวเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษา
25 มี.ค. 2025
พญ นาตยา อุดมศักดิ์ หมอ pain วิสัญญี ระงับปวด
รศ.นพ. นันตสรณ์ สิญจน์บุณยะกุล , วิสัญญีวิทยา - การระงับความปวด , รพ.เซเปี้ยนซ์
ผศ.พญ. สุรัสวดี วังน้ำทิพย์ , วิสัญญีวิทยา , ระงับปวด ,  รพ.เซเปี้ยนซ์
นพ. นิรุจิ แสงสมส่วน , วิสัญญีวิทยา เวชศาสตร์ความปวด , รพ.เซเปี้ยนซ์
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy