แชร์

"พังผืดในโพรงประสาน" ศัตรูเงียบที่ทำให้คุณปวดเรื้อรัง

อัพเดทล่าสุด: 27 มี.ค. 2025

Percutaneous Epidural Adhesiolysis 
การรักษาอาการปวดเรื้อรังจากพังผืดในโพรงประสาท

    Percutaneous Epidural Adhesiolysis เป็นหัตถการที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังจากพังผืดในโพรงประสาท (epidural space) โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะ Failed Back Surgery Syndrome (FBSS) หรือภาวะปวดหลังเรื้อรังหลังการผ่าตัด ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบดั้งเดิม เช่น การใช้ยาและกายภาพบำบัด

ข้อบ่งชี้

1. Failed Back Surgery Syndrome (FBSS) : อาการปวดที่ยังคงอยู่หรือกลับมาใหม่หลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

2. Epidural Fibrosis : การเกิดพังผืดรอบรากประสาทหลังการผ่าตัด

3. Spinal Stenosis : ภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท

4. Herniated Disc with Radiculopathy : หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอนุรักษ์นิยม

5. Chronic Radicular Pain อาการปวดร้าวลงขาจากเส้นประสาทถูกกดทับ

6. ผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ เช่น ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด


เทคนิคการทำ Epidural Adhesiolysis


1. เตรียมผู้ป่วย : ให้ยาชาเฉพาะที่และยาคลายความกังวลในระหว่างการทำหัตถการ

2. ใช้เครื่อง X-ray (Fluoroscopy) นำทาง เพื่อระบุตำแหน่งของพังผืดที่กดทับรากประสาท

3. สอดสายสวนพิเศษ (Racz Catheter หรือ Steerable Epidural Balloon Catheter เข้าไปในโพรงประสาทผ่านทางกระเบนเหน็บ (Caudal Epidural Space) หรือทางรูเปิดเส้นประสาท (Transforaminal Approach)

4. ขยายบอลลูนหรือฉีดสารสลายพังผืด โดยใช้เอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) ฉีดยา สเตียรอยด์และยาชา ลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวด

5. ฉีดน้ำเกลือเข้มข้น 10% ช้าๆ ใน 30 นาที

6. เฝ้าติดตามอาการ : ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามอาการและอาจต้องทำซ้ำหากจำเป็น

ข้อดี

  • ลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่
  • ขจัดพังผืดเชิงกลได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อใช้ Steerable Epidural Balloon Catheter ที่    สามารถขยายและแฟบบอลลูนเพื่อแยกพังผืด สามารถควบคุมทิศทางของสายสวนได้ดี    ทำให้เข้าถึงจุดที่มีพังผืดอย่างแม่นยำ
  • ลดระยะเวลาพักฟื้น เมื่อเทียบกับการผ่าตัดกระดูกสันหลังซ้ำ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

  • แม้หัตถการนี้จะมีความปลอดภัยสูง แต่ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น:
    แพ้ยาจากยาชา สเตียรอยด์ หรือเอนไซม์ที่ใช้สลายพังผืด
  • การติดเชื้อในโพรงประสาท (Epidural Abscess) พบได้น้อย แต่ต้องเฝ้าระวัง
  • เลือดออกในโพรงประสาท (Epidural Hematoma) อาจทำให้เกิดอาการปวดรุนแรงขึ้น
  • น้ำไขสันหลังรั่ว (Dural Puncture & CSF Leak) อาจทำให้ปวดศีรษะหลังทำหัตถกา
  • อาการชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงชั่วคราว อาจเกิดขึ้นหากเส้นประสาทได้รับการระคายเคือง

อัตราความสำเร็จและการทำซ้ำ

  • อัตราความสำเร็จในการบรรเทาอาการปวดอยู่ที่ 50-80% โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักรู้สึกดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์หลังทำหัตถการ
  • ผลลัพธ์อยู่ได้นาน 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวดและการตอบสนองของผู้ป่วยสามารถทำซ้ำได้ทุก3-6 เดือน แต่ไม่ควรเกิน 3 ครั้งต่อปี เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

สรุป

    Percutaneous Epidural Adhesiolysis เป็นหัตถการที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาอาการปวดเรื้อรังจากพังผืดในโพรงประสาท เหมาะสำหรับผู้ที่มี FBSS, Spinal Stenosis หรือ Chronic Radicular Pain ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอื่น  ทั้งนี้หัตถการควรดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
 งูสวัด
ปวดเหมือนไฟซ็อต! คนที่เคยเป็นงูสวัดเท่านั้นจะเข้าใจ งูสวัด (Herpes Zoster) เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella-Zoster Virus (VZV) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ทำให้เกิดอีสุกอีใส หลังจากหายจากอีสุกอีใส เชื้อไวรัสนี้สามารถแฝงตัวอยู่ในปมประสาท (Dorsal Root Ganglion - DRG) และถูกกระตุ้นให้กลับมาแสดงอาการอีกครั้งเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ
27 มี.ค. 2025
ปวดซับซ้อน
การรักษาโรคปวดซับซ้อนเฉพาะที่ เป็นภาวะปวดเรื้อรังที่พบได้น้อยแต่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยอย่างมาก โดยมักเกิดขึ้นหลังจากการบาดเจ็บหรือการผ่าตัดประมาณ 4-6 สัปดาห์ อาการปวดมักรุนแรงเกินกว่าที่คาดจากการบาดเจ็บ
27 มี.ค. 2025
เบาหวาน
ปวดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน สัญญาณเตือนที่คุณไม่ควรมองข้าม! ปัญหาปวดเท้า เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานานสามารถทำให้เส้นประสาทเสียหาย (diabetic neuropathy) และทำให้การไหลเวียนเลือดบกพร่อง อาการปวดเท้าเบาหวาน
27 มี.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy