2. อุบัติการณ์ของอาการปวดแผลผ่าตัดเรื้อรัง
CPSP พบได้ในผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัด 5 - 50% ขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด ตัวอย่างอัตราการเกิด CPSP จากงานวิจัย ได้แก่:
- การตัดแขนขา 85%
- การผ่าตัดทรวงอก 71%
- การผ่าตัดเต้านม 57%
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า 44%
- การผ่าตัดช่องท้อง 21%
3. สาเหตุของอาการปวดแผลผ่าตัดเรื้อรัง
CPSP เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งทางกายภาพและจิตใจ เช่น:
- การบาดเจ็บของเส้นประสาท ระหว่างการผ่าตัด
- การอักเสบเรื้อรัง หรือมีการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
- ความไวของระบบประสาท ทำให้ร่างกายรับรู้ความเจ็บปวดมากกว่าปกติ
- ปัจจัยด้านจิตใจ เช่น ความเครียดหรือภาวะซึมเศร้า อาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น
4. ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด CPSP
A. ก่อนการผ่าตัด
- มีประวัติอาการปวดเรื้อรังมาก่อน
- มีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
- ใช้ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์เป็นเวลานาน
B. ระหว่างการผ่าตัด
- การบาดเจ็บของเส้นประสาทขณะผ่าตัด
- ความรุนแรงของอาการปวดเฉียบพลันหลังการผ่าตัด
C. หลังการผ่าตัด
- การควบคุมอาการปวดเฉียบพลันไม่ดี
- การติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
- การทำกายภาพบำบัดที่ไม่เพียงพอ
5. วิธีการรักษาอาการปวดแผลผ่าตัดเรื้อรัง
5.1 การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด
- ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น Ibuprofen, Naproxen, Etoricoxib, Celecoxib
- ยากันชัก (Anticonvulsants) เช่น Gabapentin, Pregabalin Mirogabalin
- ยาต้านเศร้า (Antidepressants) เช่น Amitriptyline, Nortriptyline, Duloxetine
- ยาชาเฉพาะที่ (Local Anesthetics) เช่น แผ่นแปะไลโดเคน(lidocaine pad)
- ยากลุ่มโอปิออยด์ (Opioids) เช่น Morphine, Oxycontin, Fentanyl patch, Methadone (ใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น)
5.2 การรักษาด้วยเทคนิคทางการแพทย์
- การฉีดยาชาและสเตียรอยด์ บริเวณเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ
- การกระตุ้นด้วยแม่เหล็กส่วนปลาย (Peripheral Magnetic Stimulation : PMS) เพื่อกระตุ้นระบบประสาท ลดอาการปวด
- การกระตุ้นเส้นประสาทไขสันหลัง (Spinal Cord Stimulation : SCS) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรง
5.3 การทำกายภาพบำบัดและการดูแลตนเอง
- การบริหารกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและลดการเกร็งตัว
- การใช้เทคนิคผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิและโยคะ
- การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การออกกำลังกายเบา ๆ สม่ำเสมอ
6. แนวทางการป้องกัน CPSP
- การใช้เทคนิคระงับปวดหลายรูปแบบ (Multimodal Analgesia) เช่น NSAIDs, Gabapentinoids เพื่อลดการใช้โอปิออยด์
- การบล็อกเส้นประสาท เพื่อลดอาการปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด
- การให้คำปรึกษาด้านจิตใจ เพื่อลดความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัด
7. บทสรุป
อาการปวดแผลผ่าตัดเรื้อรัง (CPSP) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การรักษาควรใช้แนวทางบูรณาการ ทั้งการใช้ยา การทำกายภาพบำบัด และการดูแลด้านจิตใจ หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการปวดเรื้อรังหลังผ่าตัด ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสมต่อไป